วันศุกร์ที่ 21 ตุลาคม พ.ศ. 2559

กระชาย ราชาแห่งสมุนไพรไทย



กระชาย (โสมเมืองไทย)

สวัสดีค่ะ เพื่อนๆ พี่ๆ วันนี้มีสมุนไพรที่เรียกว่า เป็นราชาแห่งสมุนไพรมานำเสนอค่ะ ..นั่นคือ กระชาย..นั่นเอง


กระชาย ราชาแห่งสมุนไพร (โสมเมืองไทย)
ขอบคุณภาพสวยๆ จาก  สุขภาพ - Kapook

ชื่อทางวิทยาศาสตร์ : Boesenbergia rotunda (L.) Mansf.
ชื่อสามัญ : Kaemfer
วงศ์ : Zingiberaceae
ชื่ออื่น
ภาคเหนือ เรียก กะแอน หรือ ละแอน
จังหวัดมหาสารคาม เรียก ขิงทราย
ฉาน, แถบแม่ฮ่องสอน เรียก จิ๊ปู, ซีฟู 
กะเหรี่ยง, แม่ฮ่องสอน เรียก เป๊าซอเร๊าะ หรือ เป๊าสี่
กรุงเทพฯ เรียก ว่านพระอาทิตย์
เขมร สุรินทร์ เรียก กะเจียย
                         
            กระชาย นิยมใช้ในครัวเรือน ส่วนมากที่นิยมใช้ คือ เหง้า และราก ที่อยู่ใต้ดิน ในประเทศไทย มี 3 ชนิด คือ กระชายเหลือง กระชายแดง และกระชายดำ

            กระชายเหลือง และกระชายแดง เป็นพืชจำพวก (genus และ species) เดียวกัน แต่เป็นพืชต่างชนิดกันและมีฤทธิ์ทางยาต่างกันเล็กน้อย 

            กระชายดำ เป็นพืชวงศ์ขิงเช่นกันแต่อยู่ในตระกูลเปราะหอม มีชือวิทยาศาสตร์ว่า Kaempferia parviflora Wall. ex Bak

           แต่ละชนิดมีลักษณะทางพฤกษศาสตร์ และสรรพคุณทางยาต่างกันเล็กน้อย โดยใช้เหง้า และ ราก ที่นำมาใช้นั้นมีรสชาติเผ็ด ร้อน ขม ซึ่งแพทย์แผนโบราณของไทยมาใช้ในการรักษาโรค และการบำรุงร่างกาย และยังถือเป็นยาอายุวัฒนะอีกด้วย ในประเทศจีน มีรายงานว่าใช้กระชายเป็นยา ในประเทศเวียดนามใช้กระชายในการปรุงอาหาร 

                      
ลักษณะ


ต้นกระชาย
            ลำต้น เป็นไม้ล้มลุกตระกูลโสม สูงประมาณ 1-2 ศอก มีลำต้นใต้ดินเรียกว่า เหง้า ซึ่งมีเหง้าสั้น แตกหน่อได้กระชายโตเร็ว มีอายุยืนหลายปี 


เหง้าและรากกระชาย 
ขอบคุณภาพสวยๆ จาก มติชน
            ราก  มีลักษณะอวบ รูปทรงกระบอกหรือรูปไข่ค่อนข้างยาว ปลายเรียว กว้าง 1-2 ซม. ยาว 4-10 ซม. ออกเป็นกระจุกติดอยู่ที่เหง้า ผิวสีน้ำตาลอ่อน เนื้อในสีเหลือง มีกลิ่นเฉพาะตัว 


ลักษณะขอบใบกระชายดำ
(มีสีเข้มตามขอบใบ)

ลักษณะขอบใบกระชาย
            ใบ  มี 2-7 ใบ ใบเดี่ยว เรียงสลับ รูปรี กว้าง 5-12 ซม. ยาว 12-50 ซม. ปลายเรียวแหลม โคนมนหรือแหลม ขอบใบเรียบ เส้นกลางใบ ก้านใบ และกาบใบด้านบนเป็นร่อง ด้านล่างนูนเป็นสัน ก้านใบเรียบ ยาว 7-25 ซม. กาบใบสีชมพู ยาว 7-25 ซม. ระหว่างก้านใบและกาบใบมีลิ้นใบ


ดอกกระชายเหลือง
                         ดอกกระชาย  สีขาวอมชมพู ขยายพันธุ์โดยใช้เหง้า กระชายชอบดินร่วนปนทราย ไม่ชอบดินแฉะ ต้องการแค่ปริมาณน้ำฝนตามธรรมชาติ ฤดูที่เหมาะสมกับการปลูกคือปลายฤดูแล้ง 

            
            สรรพคุณ มีสรรพคุณมากมายจนได้ชื่อในวงการแพทย์แผนไทยว่า "โสมเมืองไทยมีต้นกำเนิดแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และเอเชียใต้ จะกระจายอยู่มากมายตามส่วนต่างๆ ของต้น ไม่ว่าจะเป็น ใบ เหง้า ราก และ เหง้าใต้ดิน ยิ่งกระชายแก่จะยิ่งมีประโยชน์สูงกว่ากระชายอ่อน และควรเลือกกระชายแห้ง เพราะกระชายแห้งจะมีสารที่มีประโยชน์ต่อร่างกายมากกว่า 

            กระชายเป็นสมุนไพรเหมือนโสม ช่วยในการบำรุงกำลังและเสริมสมรรถภาพทางเพศซึงเป็นลักษณะเด่นของสมุนไพรทั้งสองชนิดนี้ สมุนไพรทั้งสองชนิดต่างก็เป็นพืชที่มีส่วนสะสมอาหารที่ใช้เป็นยาอยู่ใต้ดินเหมือนกัน แถมยังสามารถเรืองแสงในที่มืดเหมือนกันด้วย และในเรื่องของลักษณะที่คล้ายกับรูปร่างมนุษย์เหมือนกัน ซึ่งบางทีเราจะเรียกโสมว่า "โสมคน" และเรียกกระชายว่า "นมกระชาย" (เนื่องกระชายกระชายมีลักษณะที่คล้ายคลึงกับนมผู้หญิงนั่นเอง และบางครั้งก็ดูคล้ายเพศชาย จึงเกิดความเชื่อที่ว่า มันน่าจะมีความเกี่ยวข้องในเรื่องของสรรพคุณทางเพศ)

            มีสรรพคุณเป็นสมุนไพรเหมือนดังกับโสม หมุนเวียนไปทั่วร่างกาย แต่กระชายจะระบายออกตามธรรมชาติ ส่วนโสมนั้นถ้าดื่มกินเป็นประจำ โสมจะค้างติดหมุนเวียนอยู่ในกระแสเลือด ไม่มีการขับถ่ายออก จึงเกิดโทษภายหลัง คือ เลือดจะเหนียวข้น ระบบไหลเวียนของโลหิตจะติดขัด ชาวจีนจึงหันมากินกระชาย ซึ่งมีราคาถูก ปลอดภัย หาซื้อง่าย ปลูกได้เอง


ประโยชน์
เหง้าและราก (นมกระชาย) : มีรสเผ็ด ร้อน ขม
- เป็นยาอายุวัฒนะ บำรุงร่างกาย
- บำรุงกระดูก (เพราะมีแคลเซียมสูง)
- บำรุงสมอง เพราะทำให้เลือดเลี้ยงสมองส่วนกลางดีขึ้น
- ปรับสมดุลฮอร์โมน
- ปรับสมดุลของความดันโลหิต (ความดันโลหิตสูงจะลดลง ความดันโลหิตต่ำจะสูงขึ้น)
- ป้องกันไทรอยด์เป็นพิษ
- ช่วยฟื้นฟูต่อมไร้ท่อต่างๆ เช่น ต่อมไทรอยด์ ต่อมใต้สมอง ต่อมหมวกไต
- ช่วยอาการปวดท้อง มวนในท้อง ท้องอืดท้องเฟ้อ เนื่องจากมีสารซิเนโอเล (Cineole) ที่มีฤทธิ์ลดการบีบตัวของลำไส้ จึงทำให้อาการปวดท้องทุเลาลงได้
- ช่วยปรับสมดุล ฮอร์โมนเพศหญิง (เอสโตรเจน) และฮอร์โมนเพศชาย (เทสโทสเตอร์โรน) ผู้หญิงหากมีฮอร์โมนเอสโตรเจนมากเกินไปจะเป็นมะเร็งเต้านม ถ้ามีน้อยเกินไปจะเป็นมะเร็งปากมดลูก
- รักษาโรคริดสีดวงทวาร
- รักษาลำไส้ใหญ่อักเสบ
- แก้คันศรีษะจากเชื้อรา
- แก้ปัญหาผมหงอก ผมร่วง (ทำให้ผมแข็งแรงขึ้น ผมขาวกลับดำ ผมบางกลับหนา)
- แก้โรคไต ทำให้ไตทำงานดีขึ้น
- แก้บิดมูกเลือด
- แก้อาการท้องร่วง
- แก้ปวดเบ่ง
- แก้โรคกลากเกลื้อน
- แก้น้ำกัดเท้า
- แก้ปัญหาไส้เลื่อน
- แก้โรคเกิดในปาก (ฝ้าขาวในปาก ปากเปื่อย ปากแตกเป็นแผล)
- แก้ใจสั่น
- แก้กามตายด้าน
- แก้มุตกิต (ตกขาว ระดูขาว)
- ดูแลกระเพาะปัสสาวะให้แข็งแรง 
- ขับน้ำคาวปลาสำหรับสตรีหลังคลอดบุตร
- บำรุงหัวใจ ทำให้กล้ามเนื้อหัวใจแข็งแรง เลือดไหลไปเลี้ยงหัวใจได้ดีขึ้น
- บำรุงกำลัง 
- บำรุงมดลูก รังไข่ (เพศหญิง)
- บำรุงกำหนัด
- บำรุงเส้นเอ็น
- บำรุงเล็บมือ เล็บเท้าให้แข็งแรง
- บำบัดโรคนกเขาไม่ขัน (โรคอีดี)
- ควบคุมไม่ให้ต่อมลูกหมากโต ลดความเสี่ยงของการเป็นมะเร็งต่อมลูกหมาก (เพศชาย)
- ทำให้กระชุ่มกระชวย สดชื่น


ใบ - บำรุงธาตุ โรคในปาก คอ แก้โลหิตเป็นพิษ ถอนพิษต่างๆ


เมนูอาหารที่ใส่กระชาย            
ปลาดุกผัดฉ่า
   
ขอบคุณภาพสวยๆ จาก https://www.youtube.com/watch?v=0_n3WXg8pjw

แกงเขียวหวานลูกชิ้นปลากราย
ขอบคุณภาพสวยๆ จาก 
Wongnai


ปลาต้มกระชายขอบคุณภาพสวยๆ จาก อาหารไทย

           โรคกระดูกเสื่อม เกิดจากการเสื่อมสมรรถภาพของกระดูกในร่างกายของเรา ซึ่งอาจจะเกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ จากการทานอาหาร หรือ จากการเคลื่อนไหวมากเกินไป มักจะเกิดในวัยกลางคน วัยสูงอายุ สังเกตได้จากเมื่อเคลื่อนไหวจะมีเสียงกร๊อบแกร๊บ บางทีก็จะปวดตรงข้อกระดูก รู้สึกขัดๆ ปวดๆ เคลื่อนไหวลำบาก นั่งคุกเข่า นั่งยองๆ นั่งพับเพียบเวลาลุกขึ้นยาก 

           การรักษาโรคกระดูกเสื่อม ส่วนใหญ่มักจะพึ่งยาแผนปัจจุบัน อาหารเสริมต่างๆ เช่น แคลเซียมแบบแคปซูล แต่มีอีกสูตรแบบภูมิปัญญาชาวบ้าน ด้วย น้ำกระชาย น้ำมะนาว น้ำผึ้ง เป็นสูตรธรรมชาติบำบัด ที่ช่วยให้ร่างกายสามารถสร้างมวลกระดูกขึ้นมาใหม่ แล้วไปเสริมสร้างกระดูกที่เสื่อมให้แน่นเหมือนเดิม (ดื่มน้ำกระชาย 1 เดือน ขึ้นไป กระดูกจะตันเต็มได้โดยเร็ว น้ำกระชายดื่มเปล่า ๆ ได้ผมน้อยกว่าการหมักน้ำตาล ..น้ำหมักกระชาย อีกสูตร)
  **กระชายปั่นนั้น ต้องการฤทธิ์แอลกอฮอลล์เล็กน้อย เพื่อทำให้เกิดฤทธิ์ทางยาขึ้นฯ


การทำน้ำกระชายดื่มเพื่อรักษาโรคกระดูกเสื่อม
เก็บในตู้เย็นทานไปจนกว่าจะหมด ครั้งละครึ่งแก้ว เช้า - เย็น
- กระชาย 1 ขีด
- น้ำผึ้ง 2 ช้อนโต๊ะ
- มะนาว 2 ลูก

วิธีทำ
1. ล้างกระชายให้สะอาด แล้วนำมาตำ โดยใช้ครกหินอ่างศิลา หรือปั่นโดยใช้เครื่องใช้ไฟฟ้า ให้ละเอียด เติมน้ำสะอาดลงไป 2 แก้ว
2. นำกระชายที่ปั่นหรือตำ กรอง จนได้หัวเชื้อ เอาแต่นำหัวเชื้อ
3. ใส่น้ำผึ้งและมะนาวผสมลงไปปรุงรสตามใจชอบ

**แนะนำให้ใช้วิธีการตำโดยใช้ครกหินอ่างศิลา จะช่วยในการบำบัดด้วยวิธีธรรมชาติ**


การเพาะปลูก
1. กระชายชอบอากาศร้อนชื้นและขึ้นได้ดีในดินปนทราย วิธีการปลูกคือ ใช้เหง้า ตัดรากทิ้งไปบ้างให้เหลือไว้ 2 ราก และปลูกให้ลึกประมาณ 15 ซม. กลบด้วยปุ๋ยคอกและคลุมด้วยฟางแห้ง รดน้ำให้ชุ่ม

สารอาหารที่มีในกระชาย                
คาร์โบไฮเดรต, เส้นใย, โปรตีน, แคลเซียม, ฟอสฟอรัส, เหล็ก, วิตามินเอ, วิตามินบี 1, วิตามินบี2, มีเอสเซนเทียล ออย (essential oils), สารฟลาโวนอดยด์ (flavonoids), โคมีน(chromene), น้ำมันหอมระเหยเล็กน้อย และมีสารสำคัญเช่น ทูจีน(thujene), บอร์นิออล(borneol), เมอร์ซีน(myrcene), ไลโมนีน(limonene), ไพนีน(pinene) แคมฟีน(camphene), การบูร(camphor), ชินีออล(cineol), รูบรามีน(rubramine) และฟินโนสโตรบิน(pinostrobin) เป็นต้น

           ทั้งราก เหง้าและส่วนต้น ประกอบด้วยสารหอมระเหย เหง้าจะมีน้ำมันหอมระเหยอยู่น้อย ประมาณร้อยละ 0.08 เช่น   alpinetin, pinocembrin, cardamonin,boesenbergin A, pinostrobin และในส่วนรากยังพบ chavicinic acid อีก

ข้อควรระวัง
ในการดื่มน้ำกระชาย ควรดื่มในช่วง 15.00 -17.00 น. จะได้ประโยชน์กับร่างกายสูงสุด
ไม่ควรดื่มน้ำกระชายเปล่าๆ ควรมีน้ำผึ้งและมะนาวผสมด้วย เพื่อเพิ่มสรรพคุณทางยา
- กระชายเป็นสมุนไพรที่มีฤทธิ์ร้อน หากดื่มช่วงเป็นไข้ หรือตัวร้อน อาจทำให้ร่างกายร้อนเกินไป
- ส่วนผู้ที่เป็นความดันต่ำ แล้วดื่มน้ำกระชายจะอันตรายกว่า เพราะอาจช็อกได้ง่าย

         
ขอขอบคุณ           

  • มติชน
  • บ้านสวนพอเพียง
  • http://www.rspg.or.th/plants_data/herbs/herbs_07_1.htm
  • http://health.kapook.com/view124652.html
  • http://lungmor.forumth.com/t48-topic
  • https://www.gotoknow.org/posts/532062%2B%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%8A%E0%B8%B2%E0%B8%A2
  • http://mbthai.blogspot.com/2015/07/blog-post_17.html
  • http://rojanowork.wixsite.com/pranaresdoichiangdao/----coat  
  • http:/ข้อมูลสมุนไพร.com/  
  • http://www.aroka108.com/%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%8A%E0%B8%B2%E0%B8%A2-%E0%B8%AA%E0%B8%A1%E0%B8%B8%E0%B8%99%E0%B9%84%E0%B8%9E%E0%B8%A3-%E0%B8%82%E0%B9%89%E0%B8%AD%E0%B8%A1%E0%B8%B9%E0%B8%A5%E0%B8%AA%E0%B8%B8%E0%B8%82%E0%B8%A0%E0%B8%B2%E0%B8%9E/     













วันพฤหัสบดีที่ 20 ตุลาคม พ.ศ. 2559

พริกไทยขาวกับพริกไทยดำต่างกันอย่างไร




พริกไทย

สวัสดี เพื่อนๆ พี่ๆทุกคนค่ะ วันนี้มีสมุนไพรอีกตัวมาแนะนำค่ะ

ต้นพริกไทย


           ชื่อสามัญ : Pepper

           ชื่อวิทยาศาสตร์ : Piper nigrum L. จัดอยู่ในวงศ์พริกไทย (PIPERACEAE)

            ชื่อท้องถิ่น : พริกขี้นก , พริกไทยดำ , พริกไทยขาว , พริกไทยล่อน , พริกน้อย(ภาคเหนือ) , พริก(ใต้) เป็นต้น

ถิ่นกำเนิด
      พริกไทยจัดเป็นราชาแห่งเครื่องเทศ มีคุณประโยชน์มากมายทั้งเป็นเครื่องปรุงที่เอาไว้ดับคาวอาหาร และเป็นสมุนไพรที่มีประโยชน์ในการรักษา มีถิ่นกำเนิดในประเทศอินเดีย บริเวณเทือกเขาทางภาคตะวันออกเฉียงใต้ ประเทศไทยนิยมปลูกพริกไทยกันมากในจังหวัดจันทบุรี ตราด และระยอง ซึ่งถือเป็นพืชเศรษฐกิจที่สำคัญชนิดหนึ่ง

สายพันธุ์พริกไทย    ที่นิยมปลูกในประเทศไทยมี 6 สายพันธ์ุ ได้แก่ พันธ์ุใบหนา พันธ์ุบ้านแก้ว พันธ์ุปรางถิ่นธรรมดา พันธ์ุปรางถี่หยิก พันธ์ุควายขวิด และสายพันธ์ุคุชชิง


ลักษณะ

ลำต้นพริกไทย
                                                               
ลำต้น   ต้นพริกไทยจัดอยู่ในประเภทไม้เลื้อย มีอายุยืน ความสูงประมาณ 5 เมตร ลำต้นเป็นปล้อง  ตรงข้อมีรากฝอยใช้ในการยึดเกาะ  


ใบพริกไทย                   ใบพลู

ใบ   ใบจะมีสีเขียวสด ออกเรียงสลับตามข้อ และกิ่ง ปลายใบแหลม  ใบใหญ่รูปใบคล้ายใบพลู (ที่คนเฒ่าคนแก่มักจะใช้กินกับหมาก) แต่ใบจะหนาและด้านกว่าใบพลู เมื่อนำใบพริกไทยกับใบพลูมาเทียบกันจะเห็นได้ชัด (ใบพลูมีความมันบนผิวใบมากกว่า)


ดอก   ดอกของพริกไทยจะมีขนาดเล็ก จะออกช่อตรงข้อของลำต้น ช่อดอกแต่ละช่อมีดอกฝอยประมาณ 70-85 ดอก


เมล็ดพริกไทย


ผล   ออกผลเป็นช่อทรงกระบอกกลมยาว ช่อผลมีสีเขียว เมื่อเริ่มแก่ช่อผลของพริกไทยจะมีสีเขียวเข้มขึ้น เหลือง และแดงตามลำดับ ภายในมีเมล็ดกลม


ประโยชน์
เมล็ด

มีส่วนในการต้านสารอนุมูลอิสระ (เพราะในเมล็ดพริกไทยดำมีสารฟินิลิกส์ และพิเพอร์รีน)
- สารพิเพอรีน (Piperine) ในผลของเมล็ดมีส่วนช่วยในการรักษาและป้องกันอัลไซเมอร์ของคนแก่
- ป้องกันมะเร็งในระยะเริ่มต้น
- มีส่วนช่วยให้ตับสามารถทำลายสารพิษได้มากขึ้น
- มีส่วนช่วยในการบำรุงธาตุ
- แก้โรคลมบ้าหมูได้
- แก้อาการนอนไม่หลับได้
- แก้อาการปวดฟัน
- แก้ไข้ และมีส่วนช่วยรักษาโรคหวัดได้
- แก้อาการอาหารไม่ย่อยและกระตุ้นการทำงานของกระเพาะช่วยให้ไม่รู้สึกอึดอัดท้องหลังรับประทาน (เมล็ดอ่อน)
- แก้ท้องอืดท้องเฟ้อ
- แก้พิษจากตะขาบกัด โดยใช้ผงพริกไทยโรยบนบาดแผล
- รักษาโรคด่างขาว ซึ่งเป็นโรคผิวหนังที่เกิดจากความเสียหายของเซลล์สร้างเม็ดสีผิว
- ช่วยให้คนแก่สามารถรับรู้รสชาติได้ดีขึ้น
- ช่วยแก้อาการอาเจียนได้
- ช่วยให้สามารถเก็บเนื้อสัตว์ได้นานขึ้น 
- ช่วยทำให้ระบบหมุนเวียนเลือดดีขึ้น
- ช่วยกระตุ้นให้ร่างกายขับเหงื่อ
- ช่วยขับลม ขับเหงื่อและเสมหะได้ (โดยใช้พริกไทยประมาณ 15-20 เม็ด นำมาบดละเอียดแล้วละลายน้ำดื่มให้หมด)
- สามารถดับกลิ่นคาวเนื้อสัตว์ได้
- สามารถกำจัดเชื้อแบคทีเรียบางชนิดได้ โดยนำมาขัดผิว
- วิตามินจากพริกไทยดำสามารถป้องกันการทำลายผิวจากแสงแดดได้
- น้ำมันหอมระเหยจากพริกไทยสามารถลดอาการอยากบุหรี่ได้
- น้ำมันสกัดจากพริกไทยดำ 2 หยด ผสมกับน้ำมันขิงสกัด (กรณีไม่มีน้ำมันสกัดจากโรสแมรี่) สามารถนำมาทานวดแก้เคล็ดขัดยอก ปวดเมื่อย ใช้ได้ดีไม่แพ้ยาแก้เคล็ดขัดยอกราคาแพงๆ เลย

ใบ 
- สามารถแก้จุก เสียด แน่น เฟ้อ ปวดมวนท้องได้


ตำรายาจีน : ใช้พริกไทยแก้ปวดท้อง ท้องเดินจากโรคอหิวาต์ โรคมาลาเรีย และแก้ไข้ ส่วนน้ำมันพริกไทยดำ (blackpepper oil) มีสารพิเพอร์รีน กลิ่นฉุนระคายเคืองต่อผิวหนัง เมื่อใช้ต้องทำให้เจือจาง สำหรับสูดดมหรือทาถู ช่วยลดอาการหนาวสั่นจากหวัดและไข้หวัดใหญ่ ทำให้หายใจโล่ง และช่วยฆ่าเชื้อโรค ผสมน้ำมันนวดบรรเทาอาการปวดกล้ามเนื้อ กลิ่นพริกไทยมีฤทธิ์กระตุ้นความสนใจ สภาพแวดล้อม ให้ตื่นตัวอยู่เสมอ เพิ่มพลังใจและความเข้มแข็ง

ตำรายาอินเดีย : ใช้กลั้วคอ แก้เจ็บคอ ลดไข้ แก้หวัด ปวดท้อง ท้องเสีย ปวดประจำเดือน คลื่นไส้ อาหารไม่ย่อย

ตำรายาไทย : พริกไทยจัดอยู่ใน พิกัดตรีกฎุก (ของที่มีรสร้อน 3 อย่าง) ประกอบไปด้วย เครื่องยา 3 อย่าง ในปริมาณเสมอกันคือ เมล็ดพริกไทย เหง้าขิงแห้ง และดอกดีปลี


           ซึ่งปกติพริกไทยดำจะถูกนำไปใช้กับการรักษาโรคต่างๆ ดังที่กล่าวมาข้างต้นแล้ว ในยุคแห่งความงามนี้     พริกไทยดำ ได้รับความเชื่อถือจากกลุ่มคนที่ต้องการลดความอ้วนว่า มีสรรพคุณช่วยในการลดน้ำหนักอย่างดีเยี่ยม นักวิจัยในประเทศสหรัฐอเมริกา ค้นพบว่า พริกไทยดำ มีคุณสมบัติในการช่วยต่อต้านความอ้วน เพราะในพริกไทยดำ มีส่วนประกอบของสารพิเพอร์รีน (Piperine) 

           พริกไทยมีจุดเด่นในเรื่องของ ความฉุน และรสชาติที่เผ็ดร้อน ช่วยให้กระเพาะอาหารหลั่งกรดได้ดียิ่งขึ้น ทำให้ระบบย่อยอาหารทำงานได้ดี ช่วยในการควบคุมยีนส์ ทำหน้าที่ควบคุมการก่อตัวของเซลล์ไขมันใหม่ให้ลดลง พร้อมกับทำลายเซลล์ไขมันเก่า ที่สะสมอยู่ภายในร่างกายให้มีจำนวนน้อยลง  ทำให้ผิวหนังกระชับมากยิ่งขึ้น ผอมลงและกลับมาอ้วนอีกยากขึ้น ซึ่งการรับประทานพริกไทยเพื่อลดความอ้วนนั้นห้ามรับประทานหลังอาหารเด็ดขาด เพราะจะทำให้รู้สึกร้อนและมีอาการเรอ 

          
คุณค่าทางโภชนาการ
พริกไทยอ่อน 100 กรัม   
แคลเซียม 152 มิลลิกรัม ฟอสฟอรัส 23 มิลลิกรัม ธาตุเหล็ก 3.1 มิลลิกรัม วิตามินซี 14 มิลลิกรัม    

            พริกไทยมีแคลเซียมในปริมาณที่สูงมาก  โดยเฉพาะในพริกไทยอ่อน ซึ่งแคลเซียมเป็นส่วนสำคัญในการบำรุงกระดูก ฟันให้แข็งแรงและป้องกันการเกิดโรคกระดูกพรุนได้อีกด้วย ในพริกไทยยังมี ฟอสฟอรัส และวิตามินซี ช่วยในชลอความเสื่อมของเซลล์ และต้านอนุมูลอิสระ มีเบต้าแคโรทีน ซึ่งเป็นสารตั้งต้นของวิตามินเอ ซึ่งมีส่วนช่วยในการมองเห็น

             ปัจจุบันมีการใช้พริกไทยดำในด้านความสวยความงามมากขึ้น คือ น้ำไปใช้ใน เรื่องการลดความอ้วน นั่นเอง เพราะพริกไทยดำจะไปช่วยในเรื่องการสลายไขมันเก่าที่สะสมอยู่ในร่างกาย และทำให้กระเพาะอาหารหลั่งน้ำย่อยมากขึ้น ส่งผลให้เกิดการย่อยอาหารเร็วขึ้น


ผลข้างเคียงของพริกไทยดำ

- ตำรายาจีน ระบุว่า พริกไทยเป็นพืชที่เป็นหยาง คุณสมบัติร้อน หากรับประทานบ่อยหรือมากเกินไปอาจทำให้ตาลาย   เวียนศรีษะ เกิดฝีหนองส่วนของม้าม กระเพาะ และปอดถูกทำลายได้ ตาอักเสบได้ง่าย เจ็บคอบ่อย คอบวมอักเสบ       หรือเป็นริดสีดวงทวาร ไม่ควรรับประทานพริกไทยในปริมาณมากและติดต่อกันนานๆ

ศ.ดร.วรนันท์ ศุภพิพัฒน์ จากสำนักวิจัยคณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล กล่าวว่า สารก่อมะเร็งในกลุ่มของเอนไนโตรโซไพเพอริตีน (N nitroso piperidine) เกิดจากสาร อัลคาลอยด์ ไพเพอร์รีน ในพริก   ไทยดำทำปฏิกริยากับกลุ่มไนโตรเจน ควรลดหรืองดการบริโภคพริกไทยดำ อย่างไรก็ตาม การบริโภคพริกไทยดำ   ตามปกติในแต่ละวันได้จะได้รับสารนี้น้อยมาก เพราะพริกไทยดำเป็นเพียงตัวชูรส และเพิ่มรสชาติ แต่สำหรับผู้ที่ใช้พริกไทยดำเพื่อเสริมความงาม บริโภคครั้งละมากๆ เป็นเวลานานติดต่อกัน เป็นการสะสมสารเป็นพิษ มีความเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งสูง


พริกไทยดำกับพริกไทยขาวต่างกันอย่างไร
เป็นพริกไทยที่มาจากต้นเดียวกันแต่ความแตกต่างอยู่ที่ช่วงเวลาในการเก็บผลและการแปรรูป





เมล็ดพริกไทยดำตากแห้ง
ขอบคุณภาพสวยๆ จากBeauty Bargain
              
                พริกไทยดำ : ได้จากการเก็บพริกไทยที่แก่เต็มที่สีเขียวแต่ยังไม่สุกมาตากแห้ง ผลสีเขียวจะเปลี่ยนเป็นสีดำคล้ำ พริกไทยดำมีน้ำมันหอมระเหยทั้งในส่วนของผลและเมล็ด ดังนั้น พริกไทยดำจะมีกลิ่นหอมที่แรงกว่าพริกไทยขาว ผลของพริกไทยแก่จะมีสารไพเพอร์รีนมากกว่าในพริกไทยอ่อนซึ่งจะมีมากในเปลือกของพริกไทย




เมล็ดพริกไทยขาว
ขอบคุณภาพสวยๆ จาก ประเทศไทย
           
             พริกไทยขาว : เรียกอีกชื่อว่าพริกไทยล่อน ได้จากการนำพริกไทยที่เริ่มสุก โคนช่อเริ่มมีผลมีแดง 3-4 ผลมาแช่น้ำ   7-14 วัน เพื่อให้เปลือกยุ่ย จากนั้นนำเข้าเครื่องนวดและขัดเปลือกนอกออกแล้วนำไปตากแห้ง ซึ่งพริกไทยขาวจะมีกลิ่นหอมที่อ่อนนุ่มกว่าพริกไทยดำ เพราะจะมีน้ำมันหอมระเหยเฉพาะในส่วนของเมล็ดเท่านั้น แต่ในกระบวนการผลิดพริกไทยขาว อาจมีการเติมสารฟอกสีจำพวกคลอรีนเข้าไป เพื่อให้พริกไทยสีขาวสะอาดชวนกิน แต่สารดังกล่าวอาจทำให้ผู้บริโภคเสียงต่อโรคมะเร็ง 


การเพาะปลูก

การเพาะเมล็ด : ชอบดินร่วนซุย มีการระบายน้ำได้ดี ควรเพาะเมล็ดแก่ในฤดูฝน

ตัดเถาชำ : เลือกเถาที่มีรากตามข้อปล้องอายุประมาณ 1 ปี ลิดใบออกบางส่วน ตัดเป็นท่อนๆ ชำ เมื่อแตกยอดอ่อนจึงย้ายไปปลูกในยุงพลาสติก อยู่ในที่ร่มประมาณ 1-2 เดือน จึงทำการย้ายลงหลุม ระวังอย่าให้หลุมชื้นแฉะหรือแห้งจนเกินพริกไทยจะตายได้


ขอขอบคุณ

  • http://guru.sanook.com/13322/
  • https://sites.google.com/site/krunoinetwork/phrik-thiyda-phrik-thiy-khaw
  • http://www.thailovehealth.com/nutrient/health-3463.html
  • http://siamherbs.blogspot.com/2014/09/black-piper.html
  • http://prayod.com/%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B8%B4%E0%B8%81%E0%B9%84%E0%B8%97%E0%B8%A2-pepper/
  • https://mahosot.com/%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B8%B4%E0%B8%81%E0%B9%84%E0%B8%97%E0%B8%A2%E0%B8%94%E0%B8%B3%E0%B8%A5%E0%B8%94%E0%B8%99%E0%B9%89%E0%B8%B3%E0%B8%AB%E0%B8%99%E0%B8%B1%E0%B8%81.html